การติดตั้ง (Mounting) ตอนที่ 1
1. การติดตั้ง
วิธีการติดตั้งแบริ่งมีผลอย่างมากต่อความเที่ยงตรงของแบริ่ง อายุและสมรรถนะ ซึ่งผู้ผลิตก็ได้แนะนำว่าลำดับขั้นการทำงานต่างๆ เกี่ยวกับแบริ่งควรได้รับการ
วิเคราะห์อย่างละเอียดจากการออกแบบและวิศวกรรมมาตรฐานเกี่ยวกับการทำงานควารกำหนดขึ้นในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. การล้างทำความสะอาดแบริ่งและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง
2. การตรวจสอบมิติต่างๆ ของชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. วิธีการติดตั้ง
4. วิธีการตรวจสอบหลังติดตั้ง
ไม่ควรเปิดกล่องบรรจุแบริ่งทิ้งไว้ จนกว่าจะใช้งานจริง อย่างไรก็ตามแบริ่ง
สำหรับเครื่องมือวัดหรือแบริ่งที่ใช้งานกับความเร็วสูงจะต้องล้างด้วยน้ำมันที่สะอาดก่อนเพื่อขจัดสารป้องกันการกัดกร่อนออกไปหลังจากที่ล้างแบริ่งแล้วก็ควร
ห่อหุ้มใว้เพื่อป้องกันสิงสกปรกและการกัดกร่อน สำหรับแบริ่งที่มีจะระบีบรรจุจากโรงงานไม่ต้องล้างทำความสะอาด
ลำดับขั้นการติดตั้งแบริ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามชนิดแบริ่ง และ ระดับงานสวม ซึ่งโดยมากแล้ววงแหวนในจะต้องเป็นการสวมแน่นและวงแหวนนอกจะสวมคลอน
แบริ่งที่มีรูในตรงก็จะสวมโดยการอัดเข้าไป
: ก่อนสวมแบริ่งเข้ากับเพลา
แบริ่งเม็ดกลมสัมผัสเชิงมุมความเที่ยงตรงสูงนั้นจะมีเครื่องหมายรูปตัววี (V) อยู่ที่ผิวหน้าของแหวนนอก เครื่องหมายรูปตัววีของแบริ่งประกบคู่แบบใดก็ได้อยู่ในรูปที่ 37
ส่วนแบบธรรมดาอยู่ในรูปที่ 35
เครื่องหมายรูปตัววีนี้ มีไว้เพื่อป้องกันการประกอบผิดพลาดดังนั้นจะต้องตรวจสอบความถูกต้องของลักษณะการประกบให้ถูกต้องตามที่กำหนดด้วย
อีกเครื่องหมายหนึ่งซึ่งอยู่ด้านข้างของวงแหวนใน คือ เครื่องหมายวงกลม (O)ซึ่งเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งสูงสุดของค่า Radial runout แบริ่งจะมีความแม่นยำที่เหมาะสมได้
เมื่อให้เครื่องหมายวงกลมอยู่ตรงกันข้ามกับตำแหน่งเยื้องศูนย์มากสุดของเพลา
โดยทั่วๆไปค่า Radial runout ของเพลามักจะไม่แสดงข้อมูลจากผู้ผลิตเครื่องจักรมาให้ ให้ทำการวัดหาตำแหน่งดังกล่าว ด้วยรายละเอียดให้ดูหัวข้อการใช้งานและบำรุงรักษา
วีธีการทำความสะอาดแบริ่ง
เนื่องจากว่าอายุการใช้งานและความเชื่อถือได้ของการใช้งานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง การชำระล้างน้ำมันคราบไขจาระบี และสารเคลือบต้านการกัดกร่อนจึงเพิ่ม
ความสำคัญมากขึ้น การทำให้ผิวสัมผัสมีฟิลม์หล่อลื่นที่ดีนั้นทำได้โดยการมีผิวหน้าสัมผัสที่สะอาด การที่เราขจัดคราบไข
น้ำมันเหล่านี้ออกไปก็เป็นการขจัดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างสารเหล่านี้กับสารหล่อลื่น จึงมักจะมีการแนะนำกันอยู่เสมอว่าให้ทำความสะอาดผิว
เพื่อขจัดสารต่างๆ เหล่านั้นก่อนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฐานของ Silicone หรือ Perfluorinated
สารเคลือบผิวที่เกาะติดอยู่นี้สามารถทำหน้าที่เป็นดั่งตัวกลางที่แยกระหว่างผิวสัมผัสกับสารหล่อลื่นทำให้จาระบีไม่สามารถเคลือบเม็ดลูกกลิ้งและราววิ่งได้อย่างเหมาะสม
สำหรัยการใช้งานที่ความเร็วสูง (nDm *> 0.8)
จำเป็นต้องมีพื้นที่ผิวที่แห้งสะอาดเพื่อให้แน่ใจว่ามีการยึดเกาะที่เหมาะสมระหว่างเมทริกของตัวทำความข้นเหนียวของจาระบีกับผิวหน้าของแบริ่ง
บริษัทผู้ผลิตแบริ่งส่วนมากได้มีการเคลือบด้วยฟิลม์น้ำมันและ/หรือเคลือบสารต้านการกัดกร่อน ถ้าสารเคลือบนี้เข้ากันได้กับสารหล่อลื่นที่เลือกใช้
การล้างทำความสะอาดก่อนใช้ก็ไม่จำเป็น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาหารือกับผู้ผลิตแบริ่งและสารหล่อลื่น
การใช้สารละลายที่ไม่ตกค้างสำหรับล้างแบริ่งนั้นช่วยให้มีสภาวะการหล่อลื่นที่เหมาะสมที่สุด ก่อนที่จะเลือกสารละลายอุตสาหกรรมทีเหมาะสมที่จะใช้
สิ่งสำคัญควรต้องศึกษาข้อจำกัดด้านกฏหมาย ข้อห้ามต่างๆ และวิธีการใข้ให้เข้าใจเสียก่อน
สารละลายที่ไม่ตกค้างที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ (FC-113) (Freon ® TF) และ methylchloroform (1,1,1 Trichloroethane)
อย่างไรก็ตามสารละลายที่ยอมให้ใช้ได้ที่เห็นสารที่ไม่มีสิ่งตกค้างมาใช้แทน (ดูในตารางที่ 2)
เกณฑ์ในการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการปนเปื้อนจะเป็นตัวกำหนดจำนวนครั้งและวิธีการล้าง ซึ่งอาจจะต้องล้างหลายครั้งหรือการล้างด้วยอัลตราโซนิกอาจต้อง
นำมาใช้ล้างด้วย ขณะที่ชิ้นส่วนที่ล้างแล้วแห้งนั้น ก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดการกัดกร่อนจากบรรยากาศ ถ้าไม่สามารถจะหล่อลื่นได้ทันที
ก็ควรจะเคลือบด้วยสารหล่อลื่นทันทีแต่ส่วนพี้นที่ผิวที่ไม่ได้รับการหล่อลื่นก็ยังคงจะเกิดการกัดกร่อนได้อยู่ จึงควรใช้สารต้านการกัดกร่อนเคลือบไปบนผิวหน้า
ของแบริ่งหลังการหล่อลี่น*เป็น chlorinated type ** หลังใช้ทำความสะอาดที่มีสารตกค้างให้ล้างด้วยน้ำมันสะอาดแล้วหล่อลื่นทันที
ขั้นตอนการล้างทำความสะอาด
1. ใช้สารละลายที่เลือกใว้เพือทำความสะอาด
2. ใช้ภาชนะแยกกันในแต่ละขั้นตอนในและถาชนะควรมีตะแกรงรอง เพื่อไม่ให้แบริ่งสัมผัสกับกันภาชนะโดยตรงซึ่งมีสิ่งสกปรกนอนก้นอยู่
3. ในการล้างครังแรกหลีกเลี่ยงที่จะหมุนแบริ่ง หลังจากทำความสะอาดผิวภายนอกด้วยแปรงแล้ว ก็ให้ล้างในภาชนะถัดไป
4. ในภาชนะสุดท้ายให้หมุนแบริ่งด้วยมือ โดยต้องแน่ใจว่าสารทำความสะอาดนั้นสะอาดอยู่
5. ทำความสะอาดสารละลายที่แบริ่งให้หมด หลังจากล้างทำความสะอาดแบริ่งที่หล่อลื่นด้วยจาระบีให้บรรจุจาระบี
ส่วนแบริ่งที่หล่อลื่นด้วยน้ำมันก็ควรจะติดตั้งบนเครื่องจักรและอย่าหมุนแบริ่ง ก่อนติดตั้งควรเคลือบด้วยฟิลม์น้ำมันบางๆ
การติดตั้งแบริ่ง
การประกอบแบริ่งเข้ากับเพลามีอยู่ 2 วิธีคือ
1. สวมอัดเข้ากับเพลา (Press fit) มักใช้กับแบริ่งขนาดเล็ก ก่อนอัดแบริ่งเข้ากับเพลาควรทาน้ำมันบางๆ ที่เพลาเพื่อลดแรงเสียดทานลงแล้ววางวงแหวนในที่เพลาตาม
รูปที่ 39ใช้แรงกดอย่างสม่ำเสมอกดแบริ่งให้สัมผัสพอดีกับบ่าเพลา สำหรับแบริ่งทีแยกส่วนได้ เช่น แบริ่งเม็ดทรงกระบอก ซึ่งสามารถประกอบวงแหวนในและวงแหวนนอก
แยกกันได้ เมื่อจะประกอบทั้งสองชุดเข้าด้วยกัน จะต้องระมัดระวังในการจัดแนวของวงแหวนทั้งสองให้ถูกต้อง หากไม่ระมัดระวังอาจก่อให้เกิดรอยขีดข่วนที่ผิวหน้ารางวิ่งต่างๆได้
2. การสวมโดยใช้ความร้อน (Shrink fit) ในการประกอบแบริ่งขนาดใหญ่ ต้องใช้แรงในการสวมอัดสูงมาก จึงมักเปลี่ยนมาใช้ความร้อนขยายแบริ่งแล้วปล่อยให้หดตัวแทน ช่วยให้ประกอบแบริ่งได้ง่ายขึ้นและไม่ใช้แรงมากเกินไป กระทำต่อแบริ่งการขยายตัวของแหวนใน ณ ที่จุดความแตกต่างของอุณหภูมิต่างๆ แสดงอยู่ในรูปที่ 40
ข้อควรระวังในการให้ความร้อนกับแบริ่ง
:อย่าให้ความร้อนเกิน 120 ℃
:ให้ความร้อนสูงกว่าที่ต้องการประมาณ20-30 ℃ เพื่อให้ประกอบได้สะดวก
:กดแบริ่งให้ติดบ่าเพลาเพื่อไม่ให้มีช่องว่างเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง
|